news-en

รู้ไหมว่าตอนนี้เรามีวัตถุทำเบเกอรีอร่อยๆ เอาใจสำหรับคนแพ้กลูเตน ราคาประหยัดกว่าแป้งไร้กลูเตนนำเข้าต่างประเทศ เพราะทำจากมันสำปะหลังที่ผลิตได้มากในเมืองไทย วัตถุดิบทำเบเกอรีจากมันสำปะหลังที่ระบุนั้นมีลักษณะคล้ายแป้ง แต่ไม่ใช่แป้งมันสำปะหลังสำหรัขนมไทยและอาหารไทยๆ แบบที่เราคุ้นเคย หากแต่เป็นแป้งอีกลักษณะที่เรียกว่า “ฟลาวมันสำปะหลัง” ซึ่งนำไปทำเบเกอรีอร่อยๆ ได้หลายอย่าง ดร.สุนีย์ โชตินีรนาท นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) อธิบายว่า เราสิ่งที่เป็นผงว่าแป้ง แต่ยังมีแป้งอีกลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า “ฟลาว” ซึ่งเป็นแป้งที่ยังมีองค์ประกอบของแป้งอยู่ เช่น เส้นใยอาหาร สำหรับฟลาวมันสำปะหลังนั้น ดร.สุนีย์ระบุไม่ใช่ของใหม่ เพราะเป็นอาหารหลักของประชาชนในละตินอเมริกาและแอฟริกาอยู่แล้ว สำหรับมีผลผลิตมันสำปะหลังมากถึงปีละ 30 ล้านตัน มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไนจีเรีย แต่ส่งออกมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยปลูกมันสำปะหลัง 2 ชนิด คือ มันสำปะหลังชนิดหวาน ซึ่งมีไซยาไนด์ต่ำ และมันสำปะหลังชนิดขมซึ่งมีไซยาไนด์สูง โดยนิยมปลูกมันสำปะหลังชนิดขมมากกว่าเพราะให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าแต่ก็มีราคาถูกมาก ทางไบโอเทค และสถาบันผลผลิตเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกันพัฒนา “ฟลาวมันสำปะหลัง” จากมันสำปะหลังชนิดชมเพื่อเพิ่มมูลค่า ก่อนหน้านั้น ดร.สุนีย์เผยว่า...

ท่ามกลางแสงแดดแรงกล้า ไอร้อนระอุแผ่ซ่านไปทุกตารางนิ้วในพื้นที่ต.วังชะพลู สองข้างทางถนนลูกรังละลานตาด้วยแปลง “มันสำปะหลัง” พืชที่ว่ากันว่าปลูกแล้วให้เทวดาดูแล ยืนต้นชูใบมิเกรงกลัวความร้อน รอเวลาที่ชาวบ้านจะเก็บผลผลิตสร้างรายได้หลักให้พวกเขา แม้ต้องการหาทางเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้เพียง 2-3 ตันต่อปี ลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่สูงขึ้น แต่ประสบการณ์จากภาครัฐ ทำให้ ศรีโพธิ์ ขยันการนาวี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลังเลทุกครั้งเมื่อมีโครงการใดเข้ามาในพื้นที่ “ที่ผ่านมาเบื่อนักวิชาการ มาแล้วก็หายไป ขออย่างเดียว อย่าทิ้งเกษตรกร ถ้าไม่ทิ้ง เกษตรกรเขาสนใจอยู่แล้ว” ข้อความที่ ศรีโพธิ์ บอกต่อทีมผู้เชี่ยวชาญโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง” หลังจากที่เข้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ในปี 2557 เมื่อได้ไปเห็นแปลงมันสำปะหลังที่นครราชสีมาที่ได้เข้าร่วมโครงการ “ปลูกมันก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ สายพันธุ์ไหนใครว่าดี ก็ปลูกตามกัน สูตรปุ๋ยนึกอยากใส่แค่ไหนก็ใส่ ปลูกก็ปลูกถี่ๆ คิดว่าต้นมากได้หัวมาก ไม่เคยคิดว่าค่าใช้จ่ายหมดไปเท่าไหร่” ศรีโพธิ์ เล่าย้อนถึงวิถีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรที่นี่ แต่หลังจากที่เขาและสมาชิกกว่า 100 คนของกลุ่ม “กำแพงเพชรโมเดล” ได้เข้าอบรมกับโครงการเพิ่มประสิทธิการผลิตมันสำปะหลัง สิ่งที่พวกเขาต้องปรับเปลี่ยนเป็นอย่างแรก คือ ระยะการปลูก และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเริ่มทำที่คนละ...

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ยอดใบจนถึงราก (หัวมัน) เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ รวมถึงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ 1.ใช้เป็นอาหารมนุษย์ โดยใช้ส่วนหัว นำมา ต้ม นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม เป็นอาหารชนิดต่างๆ  ส่วนใบ นำมา ต้มจิ้มน้ำพริก 2.ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้ง เปลือกของหัวใบสด ตากแห้งป่นผสมเป็นอาหารสัตว์ 3.ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร  อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหาร และอุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร  ใช้เพื่อผลิตเป็น มันสำปะหลังเส้น (cassava chips / shredded)  มันสำปะหลังอัดเม็ด (cassava pellets)  แป้งมันสำปะหลัง (cassava flour /tapioca flour)  และจากแป้งมันสำปะหลัง สามารถนำไปผลิตเป็นแป้งแปรรูป (modified starch) ชนิดต่าง ๆ...

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ในปี 2562 พื้นที่เพาะปลูกมีขนาดประมาณ 8.7 ล้านไร่ ให้ผลผลิตมันสำปะหลังประมาณ 31.1 ล้านตัน ด้วยความพร้อมในการเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบมันสำปะหลัง ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก มีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกแป้งมันสำปะหลังดิบอยู่ที่ 80% มันเส้น 57% และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร 30% โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 64% ของปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดของไทย ไทยจึงเน้นผลิตมันสำปะหลังเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดย 64% ของปริมาณวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก อีก 36% จะถูกนำไปใช้ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ แม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก แต่กลับมีอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้าต่ำ เนื่องจากตลาดส่งออกมีการกระจุกตัวมาก และหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการนำเข้าของประเทศคู่ค้า การส่งออกของไทยก็จะได้รับผลกระทบมาก ในปี 2562 อุตสาหกรรมมันสำปะหลังเผชิญแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากการปรับขึ้นของราคามันสำปะหลังในปี 2561 จึงขยายพื้นที่เพาะปลูก และการหดตัวของความต้องการจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีนที่มีนโยบายลดการนำเข้ามันสำปะหลัง ส่งผลให้ปริมาณส่งออกมันสำปะหลังของไทยในปี 2562 หดตัว 20.7% อยู่ที่ 6.6 ล้านตัน (เทียบกับ 8.3 ล้านตันในปี...